เคล็ดวิชา..หัวหน้า..มือโปร...
เรียบเรียงจาก การเสวนาโต๊ะกลมครั้งที่ 2/2552 ในหัวข้อ “เคล็ดวิชาหัวหน้ามือโปร” โดย คุณงามจิตต์ ศิริจินดาเลิศ รุ่น 39 ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานสนับสนุนบุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2552 ณ ห้องปูนซิเมนต์ไทย อาคารไชยยศสมบัติ 3 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจัดโดยฝ่ายวิชาการ สมาคมนิสิตเก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เรียบเรียงโดย อิ้งค์ - กมลวิทย์ จันทร์สุริยะเขต นิสิตภาควิชาการบัญชี ชั้นปีที่ 4 ประธานฝ่ายวิชาการ สโมสรนิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (shi’67)
คุณงามจิตต์เริ่มเปิดประเด็นหัวข้อการเสวนา โดยการพิจารณาถึงชื่อการเสวนาครั้งนี้ “เคล็ดวิชา หัวหน้า มือโปร”
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โดยเริ่มต้นจาก
นอกจากรักงานแล้ว การรักคน เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะตัวหัวหน้าเองไม่สามารถทำงานเพียงลำพังได้ จึงต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติมอีกดังนี้ 1. รักคน เมื่อเราเป็นหัวหน้าเขา เราต้องหวังดีกับผู้ใต้บังคับบัญชา อยากให้เขาได้ดี 2. สร้างทีม มีทีมที่ดีซึ่งสัมพันธ์กับการที่ต้องเป็นคนรักคน สร้างกลุ่มคนที่ร่วมทำงานกันได้ 3. เป็นระบบ ในการทำงานไม่ควรขึ้นกับตัวบุคคล ควรมีการเขียนขั้นตอนการดำเนินงาน (Procedure) ไว้อย่างชัดเจน การทำงานอย่างมีระบบ จะทำให้การทำงานไม่สะดุดเมื่อมีการปรับแปลี่ยนบุคคลากร นั่นคือมี back up ที่ดี ในยุคปัจจุบันสิ่งสำคัญต้องมี แผนฉุกเฉิน (Business Contingency Plan/Disaster Recovery Plan) และเมื่อมีแผนแล้วต้องมีการซักซ้อม เพื่อให้แน่ใจว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริง จะสามารถปฎิบัติตามแผนฉุกเฉินที่วางไว้ได้ คุณงามจิตต์ได้เล่าถึงส่วนหนึ่งของแผนดังกล่าวของ ธนาคารยูโอบีว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น คุณงามจิตต์เองก็ต้องมีหน้าที่โทรบอกคนอีก 3 คน แล้วคนอีก 3 คนนั้นก็ต้องโทรบอกอีก 3 คนต่อเรื่อยๆไป ถ้าหากคุณงามจิตต์ติดต่อคนหนึ่งใน 3 คนที่คุณงามจิตต์รับผิดชอบต้องแจ้งไม่ได้ ต้องทำหน้าที่แทนคนคนนั้นในการโทรหา 3 คนต่อไป แสดงให้เห็นว่า เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ต้องมีการเขียนขั้นตอนไว้ชัดเจน แล้วใครจะเป็นคนรับผิดชอบเรื่องไหนบ้าง 4. ธรรมาภิบาล (Good Governance) อันนี้สำคัญเช่นเดียวกัน ในปัจจุบันที่บริษัทต้องมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ซึ่งเรื่องนี้จะสัมพันธ์กับการสร้างทีม หัวหน้าต้องเลือกคนรอบข้างให้เป็น 5. ยั่งยืน มือโปรที่สร้างมือโปรได้ ต้องสามารถสร้างคนขึ้นมาทดแทนเราได้ ถึงจะเรียกว่ามือโปร ไม่ใช่หยุดอยู่ที่ตัวเราเองเพียงคนเดียว ต้องสร้างคนขึ้นมาเป็นมือโปรด้วย ถึงจะอยู่ได้อย่างยั่งยืน และท้ายสุด ส่วนที่สำคัญที่สุด ของการเป็นหัวหน้ามือโปรฯ คือ “เราต้องเป็นแบบอย่างที่ดี (Role Model)” หากเรารู้ทุกอย่างแต่เราไม่ทำเองเลย ก็จะไม่มีใครเชื่อในตัวเรา คุณงามจิตต์กล่าวทิ้งท้าย ผู้นำทีมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ คุณงามจิตต์ได้ยกตัวอย่างประสบการณ์การเป็น Project Manager ในการบริหารจัดการโครงการ สิ่งที่ยากที่สุดคือ การบริหารคน นั่นเอง เพราะ project เป็นงานเฉพาะกิจ ที่ดึงคนที่มีงานประจำอยู่แล้วเข้ามาทำ และคนเหล่านั้นไม่ใช่ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือลูกน้องของเรา
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คุณงามจิตต์ได้พูดถึง การเป็นผู้นำทีมที่ดี ต้องมีองค์ประกอบเหล่านี้
คำคมจาก ขงเบ้ง
จากการเสวนากับผู้เข้าฟัง
คุณงามจิตต์ได้ให้ข้อคิดการนำ Knowledge ต่างๆไปใช้ในการประชุม ในการประชุมนั้น หลายๆครั้งมักประสบปัญหา ผู้เข้าร่วมประชุมมักพูดวนเวียนถึงแต่ปัญหา โดยไม่ได้หาทางแก้ไข เหมือนไม่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ถ้าวิเคราะห์ให้ดีมักพบว่าผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่มักจะรู้ข้อมูลแค่ครึ่งๆกลางๆไม่มีใครรู้จริง ใช้ความรู้สึกพูดถึงปัญหาเหล่านั้น การไม่เข้าใจปัญหาอย่างถ่องแท้ จึงทำให้ไม่สามารถหาทางแก้ไขได้ การประชุมที่มีประสิทธิภาพ ต้องมีการเตรียมตัวก่อนเข้าประชุม หาข้อมูลวิเคราะห์เพื่อให้เข้าใจ ใช้ข้อมูล/ความรู้ ที่เตรียมมา ไม่ใช่ใช้อารมณ์ หรือ”ถ้า...น่าจะ...” ในการตัดสิน นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมประชุม ต้องเสนอทางเลือกที่แสดงถึงข้อดีและข้อเสีย ไม่ใช่เข้ามาบ่นซึ่งไม่สร้างสรรค์ จะยิ่งทำให้การประชุมยืดเยื้อ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|